บทที่2 [การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย]
*-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------*
ผลการเรียนที่คาดหวัง
1. อธิบายลักษณะของเครือข่ายประเภทต่าง ๆ ได้
2. เลือกสื่อและอุปกรณ์มาใช้ในเครือข่ายได้
3. บอกการทำงานของเทคโนโลยี ADSL
4. อธิบายเทคโนโลยีแบบไร้สายลักษณะต่าง ๆ
*-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------*
*การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่ายข้อมูล (Transmission)
* องค์ประกอบของการสื่อสาร
- ข้อมูลข่าวสาร (Message) เช่น ข้อความ รูปภาพ ที่จะนำส่งออกไป
- อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ต้นทางในการส่งออกข้อมูล
- อุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เช่น Fax เป็นอุปกรณ์ปลายทางที่จะรับข้อมูล
- โปรโตคอล (Protocal) ข้อตกลงร่วมกัน หรือกฎระเบียบ
- ซอฟต์แวร์ (Software) โปรแกรมชุดคำสั่งสำหรับควบคุมอุปกรณ์การรับส่งข้อมูล
- ตัวกลาง (Medium) สื่อกลางนำส่งข้อมูล เช่น สายนำสัญญาณ
1.แบบซิมเพล็กซ์ (Simplex)
เป็นการส่งข้อมูลออกไปในทิศทางเดียว
2.แบบครึ่งดูเพล็กซ์
การส่งสัญญาณสองทิศทาง แต่ในเวลาต่างกัน
3. แบบดูเพล็กซ์เต็ม (Full Duplex)
เป็นการสื่อสารที่สามารถส่งได้สองทิศทางในเวลาเดียวกัน
<----------------------------------------------------------------------->
**ลักษณะการส่งข้อมูล** แบ่งได้ 2 แบบคือ
1. การส่งข้อมูลแบบอนุกรม <Serial
Transmission> ส่งข้อมูลได้ที่บิตต่อหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา
2. การส่งข้อมูลแบบขนาน <Parallel Transmission>
เป็นการส่งข้อมูลหลายบิตออกไปพร้อมกัน
-------------------------------------------------------------------------------------------------
**สัญญานที่ใช้ในการสื่อสาร**
สัญญาณที่ใช้สื่อสารแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. สัญญาณอนาล๊อก (Analog Signal) เป็นสัญญาณต่อเนื่อง
2.สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) เป็นสัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่องเรียกว่า ดีสครีต(Discrete) อยู่ในสถานะ 0-1
----------------------------------------------------------------------------
วัตถุประสงค์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- เพื่อเชื่อต่อคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าหากัน
- การใช้งานทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน
- ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์จากระยะไกล
- อำนวยความสะดวกในการรับส่งข้อมูล
- ลดต้นทุน
- เพิ่มความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของระบบ
ประเภทเครือ่ข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้หลายประเภท แบ่งประเภทของเครือข่ายตามขนาดหรือระยะทางได้ 3 ประเภทดังนี้
1. เครือข่ายภายใน Local Area Network : LAN
2. เครือข่ายเขตเมือง Metropolitan Area Network : Man
3. เครือข่ายวงกว้าง Wide Area Network : WAN
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย Topology
โดยโครงสร้างมี 3 ลักษณะคือ
- โทโพโลยีบัส (ฺ Bus Topology)
- โทโพโลยีดาว (Star Topology
- โทโพโลยีวงแหวน (Ring Top0logy)
สรุปบทเรียน
1. การสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย
· ข้อมูลข่าวสาร
(Message) เป็นข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง
หรือข้อมูลต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ที่จะนำส่งออกไป
· อุปกรณ์ส่งข้อมูล
(Sender) เป็นอุปกรณ์ต้นทางที่จะส่งข้อมูลออกไปโดยจะเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ส่งข้อมูลออกไปได้
· อุปกรณ์รับข้อมูล
(Receiver) เป็นอุปกรณ์ปลายทางที่จะรับข้อมูลตามรูปแบบที่ถูกส่งมา
แล้วเป็นเป็นสัญญาณเพื่อนำมาประมวลผลหรือใช้งานต่อไป
· โปรโตคอล
(Protocal) เป็นข้อกำหนด
กฎระเบียบที่ทำให้อุปกรณ์ส่งและรับข้อมูลสามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง
· ซอฟต์แวร์
(Software) เป็นโปรแกรมสำหรับควบคุมอุปกรณ์รับส่งข้อมูลให้สามารถสื่อสารกันได้
· ตัวกลาง
(Medium) เป็นสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปให้ผู้รับ
ซึ่งมีทั้งตัวกลางแบบใช้สายนำสัญญาณและไม่ใช้สายนำสัญญาณ
2. ระบบเครือข่ายคือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง
ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล
และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันในเครือข่ายได้
3. การสื่อสารข้อมูลสามารถนำมาช่วยการประมวลผลข้อมูลได้โดย สามารถติดต่อสื่อสารกันในระยะทางไกลๆ ได้
4. โพรโทคอล (protocol) ในการสื่อสารข้อมูล คือ ข้อตกลงหรือกฎเกณฑ์วิธีการสื่อสาร
5. รูปแบบการรับส่งข้อมูล
โทโพโลยีบัส เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในแนวเส้นตรง
โดยมีสายสัญญาณทำหน้าที่เป็นตัวกลางหลัก 1 สาย เรียกว่า แบ๊กโบน
ซึ่งหากตัวกลางนี้เสียหาย ทั้งเครือข่ายจะไม่สามารถสื่อสารกันได้
โทโพโลยีดาว เป็นเครือข่ายที่ทุกๆ จุดในเครือข่ายจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ตัวกลาง
เช่น ฮับ หรือเซิร์ฟเวอร์
โทโพโลยีวงแหวน เป็นเครือข่ายที่แต่ละจุดบนเครือข่ายเชื่อมต่อกันเป็นวงปิด
6. ความแตกต่างของ ฮับ บริดจ์ เราท์เตอร์ และเกตเวย์
ฮับ
เป็นศูนย์กลางในการสื่อสารของระบบแลน ช่วยขยายสัญญาณให้แรงขึ้น
เพื่อส่งไปยังทุกพอร์ต
บริดจ์ ต่างกับฮับตรงที่ ฮับจะส่งข้อมูลไปยังทุกพอร์ตที่มีการเชื่อมต่อ
ส่วนบริดจ์จะแบ่งเครือข่ายออกเป็นส่วนย่อยเรียกว่า เซกเมนต์
เราท์เตอร์ ทำงานซับซ้อนกว่าบริดจ์
ทำหน้าที่ในการแยกเครือข่ายให้ออกเป็นเครือข่ายย่อยหลายเครือข่าย
เกตเวย์ มีความสามารถสูงกว่า
เราท์เตอร์เพื่อให้เครือข่ายที่มีโปรโตคอลต่างกัน สื่อสารกันได้
7. สื่อสารข้อมูลจะช่วยลดต้นทุนให้กับองค์กรได้โดยการเปลี่ยนรูปแบบการรับส่งข้อมูลที่เป็นกระดาษ
ให้อยู่ในรูปของไฟล์เอกสาร แล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
8. เครือข่ายแบบ peer-to-peer และเครือข่ายแบบ client-server ต่างกัน โดย Client
–server มีเครื่องแม่ข่าย ในขณะที่ peer-to-peer
ไม่มี
9. การสื่อสารข้อมูลนำสายใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารคือ
สายใยแก้วนำแสงเหมาะสำหรับการใช้เป็นแบ๊กโบน
(Backbone) ที่ต้องส่งข้อมูลบริมาณมาก ๆ
และต้องการความเร็วสูง ๆ โดยเฉพาะการเชื่อมต่อระหว่างอาคาร
เพราะความทนทานต่อความชื้นและสภาพแวดล้อมนอกตัวอาคาร
10.
การเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายจะต้องนำอุปกรณ์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้ Access Point
11. การสื่อสารแบบไมโครเวฟ ใช้งาน ในระยะห่างไกลและในที่ทุรกันดาน
12. การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมและแบบขนาน
การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial
transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ
1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา
การส่งแบบขนาน (parallel
transmission) คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย
ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา
13. หน่วยงานหรือองค์กรที่มีหลายสาขาตั้งแต่ 3- 5 สาขาควรใช้โทไพโลยีดาว
หรือโทโพโลยีวงแหวน


เครือข่ายแบบวงแหวน เครือข่ายแบบดาว
14. เครือข่ายแบบไร้สายมีข้อดีและข้อเสียคือ
ข้อดี
อำนวยความสะดวกในการทำงาน
สะดวกต่อการติดตั้ง สะดวกต่อการขยายเครือข่าย ประหยัด
ข้อด้อย
ข้อมูลต่าง ๆ อาจถูกดักจับได้ ระยะทางจำกัด หากเป็นจุดอับอาจไม่สามารถเชื่อมต่อได้
ความเร็วค่อนข้างต่ำ
15. โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วยวิธี เชื่อมต่อโดยใช้เทคโนโลยี
GPRS , EDGE, 3G, 4G,WiFi
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น